โพรแลกติน

โพรแลกทิน (prolactin ; PRL)  กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนม เพื่อเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด ทำงานคล้ายกับออกซิโทซิน  เป็นโปรตีนสายเดียวที่โครงสร้างคล้ายกับโกรทฮอร์โมน ประกอบด้วยกรดอะมิโนประมาณ199 หน่วย หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ในปีคศ. 1920ได้มีการค้นพบโพรแลกทิน โดยการใช้ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ฉีดเข้าไปในกระต่ายที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ปรากฏว่ากระต่ายมีการสร้างน้ำนมขึ้นมาได้

ทำหน้าที่  1. กระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมในหญิงที่มีลูกอ่อน

                   2. กระตุ้นการสังเคราะห์น้ำนม (lactogenesis) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทารก

                  3. กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมหลั่งน้ำนมออกมา   ซึ่งจะหลั่งออกมาวันที่ 3-4 หลังคลอด

 มีความสำคัญในระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในช่วงการตั้งครรภ์ของสัตว์บางชนิดเช่น สุนัข โรเด็นท์ (rodent) และเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในสัญชาติญาณของการเป็นมารดาในสัตว์บางชนิด(maternal behavior) เช่น การทำรัง เป็นต้นนอกจากนี้โพรแลกทินมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน( immune function) โดยจากการศึกษาพบว่าหนูที่ทดลองเอายีนโพรแลกทินออกจะมีความผิดปกติของภูมิ คุ้มกัน ทั้งนี้เนื่องจากพบตัวรับสัญญาณโพรแลกทินในเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ลิมโพไซด์(lymphocytes) บางชนิด

milk_hormones

ความผิดปกติของฮอร์โมนโปรแลกติน การมีภาวะโพรแลกตินในกระแสโลหิตสูงหรือเรียกว่าไฮเปอร์โพรแลคตินอีเมีย (hyperprolactinemia) ที่พบบ่อยคือการมีฮอร์โมนเพิ่มมากเกินไปซึ่งอาจเกิดจากการมีเนื้องงอกที่ต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกมามากทำให้ระงับการตกไข่จึงไม่มีบุตร(infertile)ไม่มีรอบระดูหรืออะเมนนอรีเรีย (amenorrhea ) มีน้ำนมไหลหรือกาเลคโตเรีย (galactorrhea) ถ้าพบในผู้ชายจะทำให้ความรู้สึกทางเพศตรงข้ามลดลงและหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (impotence) เป็นหมัน เต้านมขยายเหมือนผู้หญิง (gynaecomastia)

Leave a comment